ไกด์สู่สังคมของสวีเดน

 

ครอบครัว

 

ระบบการศึกษา

 

ตลาดการงาน+การว่าจ้าง

 

ที่อยู่อาศัย

 

บริการทางด้านการพยาบาล

 

สำนักงานบริการสังคม

 

บุุคคลทุพพลภาพ

 

บำนาญ

 

สิ่งเเวดล้อม

 

ฯลฯ

 

 

3.   การหย่าร้าง (Äktenskapskildnad- เอ็คเต่นสก๊อบสฺคิลดฺน้าด)

ก่อนที่จะทำการหย่าร้างกันควรปรึกษาทนายความ ในเรื่องของการเเบ่งทรัพย์สิน หรือ สิทธิในการอุปการะเลี้ยงดูบุตร การหย่าร้างกันจำเป็นต้องยื่นคำร้องขอหย่าไปที่ศาล โดยที่ยื่นขอ ด้วยกัน หรือ ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดที่ต้องการหย่าเป็นคนยื่นคำร้อง


เอกสารที่ต้องนำไปยื่นพร้อมกับคำร้องคือ


1. หลักฐานส่วนบุคคลคัดจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์กรณีหย่าร้าง (Personbevis för äktenskapsskildnad – เพอรฺชูนเบียวิส เฟอรฺ เอ็คเต่นสก๊อบสฺคิลดฺน้าด)


2. จ่ายเงินค่าธรรมเนียม 450 kr. ให้เเก่ศาลโดยโอนเข้าที่ Plusgirokonto ของศาล
 

อ่านรายละเอียดเกี่ยวกับประมวลกฎหมายการหย่าร้างได้ ที่

Äktenskapsbalk 5 kap
 

การหย่าร้างมีอยู่หลายกรณี

 

กรณีที่ 1. ห้ามไม่ให้มีการบังคับให้สมรส เช่นกรณี บังคับให้เด็กสมรส อัยการจะตัดสินให้มีการหย่าร้างได้

กรณีที่ 2. ศาลสามารถตัดสินให้หย่าร้างได้ทันที ถ้า


- ทั้งสองฝ่ายเห็นพร้อมกันที่จะหย่าร้าง เเละ ทั้งสองฝ่ายไม่มีบุตรในอุปการะ ที่อยู่ร่วมด้วย


- เเยกกันอยู่อย่างน้อยที่สุด 2 ปี มีใบรับรองว่าเเยกกันอยู่ที่มีการลงนามของทั้งสองฝ่าย (5 kap 4 §)

 

กรณีที่ 3. ศาลสั่งให้มี เวลาตริตรอง (Betänketid - เบียเท่งเก่ะทีด) เมื่อ


- ฝ่ายเดียวที่ต้องการหย่า  (5 kap 2 §)


- ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดมีบุตรในอุปการะที่อายุต่ำกว่า 16 ปี อาศัยอยู่ด้วย  (5 kap 1 §)


- ทั้งสองฝ่ายต้องการเวลาตริตรอง

 

ศาลจะเป็นผู้ตัดสินว่าให้มีเวลาตริตรอง อย่างน้อย 6 เดือน เเละ มากที่สุดเป็นเวลา 1 ปี หลังจากหมดเวลาตริตรอง

- ถ้าฝ่ายที่ต้องการหย่ายังคงต้องการหย่าร้างอยู่ จำเป็นต้องส่งคำร้องเข้าไปที่ศาลอีกครั้ง พร้อมกันนั้นต้องเเนบเอกสารหลักฐานส่วนบุคคลคัดจากฐานข้อมูลทะเบียนราษฎร์กรณีหย่าร้าง ฉบับใหม่ไปพร้อมกับคำร้อง ให้ศาลตัดสินหย่าร้าง


- ถ้าไม่มีการส่งคำร้องเข้าไปที่ศาลอีกครั้งตามระยะเวลาที่ศาลกำหนดไว้ ทั้งสองฝ่ายก็ยังคงอยู่ในสถานะสมรสกันอยู่ เเละ หลังจากนั้นศาลจะเพิกถอนคดี

ในขณะที่ศาลกำหนดให้มีเวลาตริตรอง ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาจยื่นขอให้ศาลตัดสินในเรื่องต่างๆเช่น


1. สิทธิอุปการะเลี้ยงดูบุตรว่าจะให้เป็นเเบบ อุปการะร่วมกัน(Gemensam vårdnad –เยียเมียนซั่ม โวร์ดน้าด) หรือ สิทธิเเต่เพียงผู้เดียว(enskild vårdnad-เอ็นคิลด์ โวร์ดน้าด)


2. สิทธิในการพบปะบุตร


3. เงินเลี้ยงดูบุตร


4. ยกเลิกการอยู่ร่วมกัน หรือ สิทธิในการอยู่ต่อในที่อยู่ที่อยู่ด้วยกันนั้น


5. สั่งห้ามไม่ให้อีกฝ่ายมาพบปะ