ภาษาสวีเดน 

 

 

พยัญชนะ /สระ 


การออกเสียง


คำศัพท์


หลักไวยากรณ์


บทสนทนา


เเบบฝึกหัด


พจนานุกรม


เเนะนำหนังสือ


เเนะนำเพลง


อื่นๆ 


 

การออกเสียง

 

เสียงของพยัญชนะภาษาสวีดิช ออกเสียงตรงกับภาษาไทยดังนี้

A ออ

สระ ออ

สระ อะ

สระ อา

 

B

 

เบีย

C เซีย

ซ ส (ค)

D เดีย

E เอีย

สระ เอ

สระ เอะ

สระ เอีย

 

F เอฟ

G เกีย

H โฮ

I อี

สระอิ

สระอี

 

J ยี

K โค

L เอล

M เอ็ม

N เอ็น

O อู

สระ อุ

สระ อู

P เพีย

Q คูวฺ

R แอรฺ

S เอส

T เทีย

 

U อูอือ

สระควบ

V เวีย

W ดูปเปิลเวีย

X เอ็คซฺ
ทำปากเหมือนออกเสียงสระอือแต่ออกเสียงอู

 

Y อีอือ

สระควบ

Z แซตต่ะ

Å โอ

สระโอ

สระโอ่ะ

Ä แอ

สระ แอะ

สระ แอ

ทำปากเหมือนออกเสียงสระอือแต่เปล่งเสียงอี

 

Ö เออ

สระ เออ

สระ เออะ

 

           
 
การออกเสียง

 

ภาษาสวีเดนมีสระ 9 ตัว ซึ่งทำให้เกิดเสียงได้ 17 หรือ 18 เสียง (สั้น /e/ และ /ɛ/ ซึ่งจะเห็นได้ง่ายจากการออกเสียงของภาษาท้องถิ่น) มีเสียงพยัญชนะ 18 เสียง ซึ่ง /r/ และ พิเศษคือ /ɧ/ มีหลายตำแหน่งของเสียงที่เปลี่ยนแปลงไม่ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับว่าเป็นการออกเสียงของภาษาท้องถิ่นหรือไม่ แต่ขึ้นอยู่กับบริบทเช่น เพศ อายุ ตำแหน่งทางสังคม และ บริบททางสังคม

ฉันทลักษณ์ของภาษาสวีเดน (เสียงของคำ) มีความแตกต่างกันขึ้นอยู่กับว่า บุคคลคนนั้นมาจากส่วนไหนของประเทศ 
 

สระ (Vokaler)

 

 

ตำแหน่งเสียงสระบนลิ้นส่วนหน้า กลาง และ หลัง

ลิ้นเป็นอวัยวะที่สำคัญที่สุดในการออกเสียงสระ ด้วยการกระดกลิ้นไปแต่ละตำแหน่งในปากจะให้เสียงแตกต่างกัน คำนึงถึงส่วนไหนของลิ้นเป็นแหล่งเกิดเสียง ซึ่ง 3 ประเภทหลัก:

 

1. ด้านหน้าหรือเพดานปาก - Främre หรือ palatala คือ ลิ้นชิดกับเพดานแข็ง
2. ด้านหลัง - Bakre หรือ velara ลิ้นชิดเพดานอ่อน
3. อยู่ตรงกลาง

 

ลิ้นอยู่ในตำแหน่งสูงต่ำจากเพดานปากต่างกัน ทำให้อากาศในปากมีปริมาณแตกต่างกันที่อาจถูกกั้น หรือ เปิดให้ออกมาต่างกันด้วย จึงทำให้เสียงสระเป็นเสียงสระเปิดและปิด สระในภาษาสวีเดนมีการปิดเปิดของเสียงสระอยู่ 4 ระดับ

1. เปิด - öppen
2. กึ่งเปิด - halvöppen
3. ครึ่งปิด - halvsluten
4. ปิด - sluten

 

ถ้าต้องการออกเสียงคำว่า 'rid', 'red', 'räd', 'märg' (ด้วยสระ ä-เสียงเปิด) และ 'kall' จะสามารถรู้สึกได้ว่าส่วนปลายลิ้นจะลดลงมาจากตำแหน่งที่อยู่บนจนเกือบจะเรียบ คำเหล่านี้เป็นตัวอย่างของเสียงสระที่มีตำแหน่งเพดานด้านหน้า  palatala (främre)

เพื่อที่จะรู้สึกโคนลิ้นหรือเสียงสระด้านหลัง velara (bakre) จะสามารถรู้สึกได้เมื่อออกเสียงคำว่า 'bo', 'få', 'håll' และ 'hal' จะสังเกตุ่าตำแหน่งลิ้นลดลงไป

 

การประกบริมฝีปาก นอกจากลิ้นแล้ว ริมฝีปากยังเป็นอวัยวะที่สำคัญในการออกเสียงสระอีกด้วย ความแตกต่างของสระในภาษาสวีเดนจะพิจารณาจาก ความยาวของออกเสียง (vokallängd) ตำแหน่งที่เกิดแหล่งเสียง ว่าอยู่ที่ส่วนหน้าของปาก และ เป็นเสียงกลม หรือไม่  (rundade กลม/orundade ไม่กลม) เสียงที่ไม่เน้น /ɛ/ ออกเสียงเป็น [ə] (บ่อยครั้งเรียกว่า ชวา- schwa) ในภาษาท้องถิ่นส่วนใหญ่ และ การลดเสียงสระก่อน /r/ เป็นไปได้

สามารถตรวจสอบว่าเสียงกลมหรือไม่ให้ทดลองออกเสียงดังต่อไปนี้:

//  ออกเสียงคำว่า 'röd' - ด้านหน้า, กึ่งปิด, เสียงกลม
//  ออกเสียงคำว่า 'ny' - ด้านหน้า, ปิด, กลม
//  ออกเสียงคำว่า 'be' - ด้านหน้า, กึ่งปิด, ไม่กลม  
//   ออกเสียงคำว่า 'vit' - ด้านหน้า, ปิด, ไม่กลม

เสียงสระที่เป็นเสียงที่เป็นภาษาสวีเดนมากๆคือเสียง //, คือเสียง u ในคำว่า 'hus' ถ้าออกเสียงหน้ากระจกจะเห็นว่า ริมฝีปากปิดลงมาและกลม
 

เมื่อจะบรรยายเสียงสระ ต้องดูสมบัติด้วยว่าเป็นสระเสียงยาว หรือ สระเสียงสั้น และ เน้นเสียง หรือ ไม่เน้นเสียง สระเสียงยาวจะใช้เครื่องหมายเช่น
สระ a  // มีเสียงที่เข้มกว่า เสียงสั้น // มีเสียงจางกว่า  
 

เครื่องหมายของการออกเสียง สระในภาษาสวีเดน  และ บรรยาย

 

สระ a เสียงยาว ในคำว่า 'mat' เสียงยาว, ด้านหลัง เปิด, สระเสียงเบา กลม
อาจมีบ้างที่ริมฝีปากกลมในบางกรณี และบางครั้งออกเสียงหนัก เช่น göteborgskan, และ อาจใกล้เคียงกับเสียง สระ å
สระ a เสียงสั้น ในคำว่า 'matt' เสียงสั้น, ด้านหน้า เปิด, สระเสียงไม่กลม 
ควรใช้เครื่องหมาย
[ ] เมื่อถอดรหัสเสียง 
สระเอีย e เสียงยาว ในคำว่า 'be'. เสียงยาว, ด้านหน้า กึ่งปิด, สระเสียงไม่กลม
สระเอียะ e เสียงยาว ในคำว่า 'bett' เสียงสั้น, ด้านหน้า, กึ่งปิด, สระเสียงไม่กลม
ส่วนใหญ่ stockholmska จะมีเสียงนี้ และอาจใกล้เคียงกับเสียง ä
สระเสียงปิดในคำว่า 'pojke' เสียงสระตำแหน่งกลาง กึ่งปิด-กึ่งเปิด, สระเสียงเบา กลม
สระอี i ในคำว่า 'vit' เสียงยาว, ด้านหน้า, ปิด, ไม่กลม
บ่อยครั้งที่ควบ คือ ประกอบด้วยสองส่วนที่สามารถแยกได้t: ส่วนท้ายของ เสียงสระ i บ่อยครั้งจะมีเสียง j, เช่น ในคำว่า 'vin'
สระอิ i ในคำว่า 'vitt' เสียงสั้น, ด้านหน้า, ปิด, ไม่กลม (ไม่กระชับ)
แสดงให้เห็นว่าไม่กระชับเท่าไร และ เสียงเปิดกว่าสระ i เสียงยาว ภาษาท้องถิ่นบางที่เสียงนี้จะกลายเป็นเสียง e, เช่น 'fesk' แทนคำว่า 'fisk'.
สระอู o ในคำว่า 'bo'. เสียงยาว, ด้านหลัง ปิด กลม
สังเกตุ ว่าสัญลักษณ์อันนี้ไม่ได้แสดงถึงเสียงสระ u เสียงยาว !
ปากกลม เป็นเสียงที่อาจมีแต่ในภาษาสวีเดน และ ควรใช้เครื่องหมาย
[ ] ในการถอดรหัส
สระอุ o ในคำว่า 'bott' เสียงสั้น, ด้านหลัง ปิด และ กลม .
สังเกตุ ว่าสัญลักษณ์อันนี้ไม่ได้แสดงถึงเสียงสระ u เสียงสั้น !
ควรใช้เครื่องหมาย 
[ ] ในการถอดรหัส
เสียง u เสียงยาว ในคำว่า 'hus' เสียงยาว, กึ่งปิด, ด้านหน้า และ ริมฝีปากกลมมาก (* ควบอืออู)
เสียง u เสียงสั้น ในคำว่า 'lustig' เสียงสั้น, กึ่งเปิด กลม หนักบานกลาง (* อึ)
ควรใช้สัญลักษณ์
[ ] .
สระเสียงอี ในคำว่า'ny' เสียงยาว, ด้านหน้า, ปิด, กลม (* ออกเสียงควบ อีอือ )
สระเสียงอิ ในคำว่า 'nytt' เสียงสั้น, ด้านหน้า, ปิด, กลม ไม่กระชับ  (* ออกเสียงควบ อีอือ )
สระโอ ในคำว่า 'gå' เสียงยาว, ด้านหลัง, กึ่งปิด, กลม
สระโอะ ในคำว่า 'gått' เป็นเสียงสั้น, ด้านหลัง, กึ่งเปิด, กลม
สระแอ ในคำว่า 'läka' เสียงยาว, ด้านหน้า, กึ่งเปิด, ไม่กลม

ภาษา stockholmskan แทบไม่แตกต่างกันระหว่าง เสียงนี้กับ e ดังนั้นจึงแทบไม่แตกต่างกันเลยระหว่างคำว่า 'rev' และ 'räv'.
ก่อน 'r' จะมีบ่อยครั้งที่เป็นประเภทเปิดที่ใช้สัญลักษณ์
//.

สระแอะ ในคำว่า 'läcka' เสียงสั้น, ด้านหน้า, กึ่งเปิด, ไม่กลม
ก่อน 'r' จะมีบ่อยครั้งที่เป็นประเภทเปิดที่ใช้สัญลักษณ์
//.
สระเออในคำว่า 'röd' เสียงยาว, ด้านหน้า กึ่งปิด, กลม
เสียงนิ้ออกเสียงได้หลายทางขึ้นอยู่กับว่าอย่ส่วนไหนของประเทศ เช่น östgötskan จะออกเสียงเปิดมาก
สระเออะ ในคำว่า 'rött' เสียงสั้น, ด้านหน้า กึ่งเปิด, กลม

 

 

 

พยัญชนะ (Konsonanter)