เมื่อก้าวเข้ามาสู่สังคมเเบบใหม่ ก็จำเป็นจะต้องเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ
เพื่อเป็นที่ยอมรับในสังคมนั้นๆ
สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ ความอดทน ที่จะต่อสู้ใฝ่หาความรู้ใส่ตน เพื่อการประสบความสำเร็จในอนาคต!
ภาษาสวีเดน
|
หลักไวยกรณ์
ด้านล่างนี้เราได้พยายามสรุปสั้นๆให้ง่ายต่อการเริ่มเรียนในช่วงแรกสำหรับท่านที่เพิ่งเริ่มเรียนภาษาสวีเดนนะคะ
* ถ้าต้องการศึกษาให้ละเอียดเพิ่มมากไปกว่านี้ คลิกตามลิ้งค์ไปศึกษาชนิดของคำต่อไปได้เลยค่ะ 1. http://svenska2.oer.folkbildning.net เวปนี้มีวีดีโอประกอบและเข้าใจได้ง่ายมาก สำหรับท่านที่เข้าใจภาษาสวีเดนได้พอสมควร (แนะนำ)
โครงสร้างของประโยคมีดังนี้
--------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------- ขนิดของคำ (Ordklass) ที่เรานำมาสร้างประโยค
* การนับเลข Räkneord
1. Substantiv (คำนาม) คือคำที่ใช้เป็นชื่อ บุคคล person [เพอชูน], สถานที่ plats [พลาทส] สิ่งของ saker [ซอกเกอร], คุณสมบัติ kvalitet [ควอลิเทียท] ซึ่งเราสามารถ เห็น ได้ยิน จับต้อง รู้สึก ดมกลิ่นได้ อย่างเช่น
ตัวอย่าง
คำนามเเบ่งออกเป็น ๒ พวก Singular [ซิงกูล่า] เอกพจน์ เเปลว่า อันเดียว สิ่งเดียว Plural [พลูรอล] พหูพจน์ เเปลว่า หลายอัน สิ่งของหลายอัน
ศึกษาเพิ่มเติมที่ http://svenska2.oer.folkbildning.net/substantiv
2. Pronomen (คำสรรพนาม) คือคำทีใช้เเทนนามเพื่อไม่ต้องกล่าว นามนั้น ซ้ำๆกัน หลายๆ ครั้งหลายหน อย่างเช่น
3. Verb ( คำกริยา ) คือคำที่ใช้เสดงการกระทำของคำนาม หรือ สรรพนาม เช่น เเสดงการกระทำ göra [เยอร] เเสดงความเป็นอยู่ är [เเอร] blir [บรี]
ตัวอย่าง
คำกริยาเเบ่งออกตามหน้าที่ในประโยค เช่น
Infinitiv [อินฟินิทีบว] คือ คำกริยาปฐม หรือ รากศัพท์ ที่ลงท้ายด้วย -a คำ infinitiv ใช้ตามหลังกริยาช่วย เช่น คำว่า ska[สกอ] จะ, vill[วิล] ต้องการ, måste[โมสเต่] ต้อง
Imperativ [อิมเพอราทีบว] คือ คำชนิดนี้ส่วนใหญ่ลงท้ายด้วย -a หรือไม่มี a เลยก็ได้ จะใช้ในเป็นคำสั่งซะเป็นส่วนใหญ่
Presens [เพรสเซ่นส] คำกริยาที่เกิดขึ้นเดี๋ยวนี้ (ปัจจุบัน) ลงท้ายด้วย -er เเละ -ar
Preteritum [เพอรเทอริทุ่ม] กริยาที่เป็นเหตุการณ์นั้นผ่านไปเเล้ว (อดีต) ลงท้ายด้วย -ade หรือ เปลี่ยนรูปไปเลย
Supinum [สุพีนุ่ม] กริยาที่ตามหลังคำกริยา har หรือ hade จะลงท้าย ด้วย -t
Perfekt Particip [เพอเฟค พารทิซีพ] คำกริยาที่ทำหน้าที่เหมือน คำวิเศษณ์ ลงท้ายด้วย -ade หรือเปลี่ยนรูป เช่น fryser => frusen ตำเเหน่งของ perfekt particip คือหลังกริยาเเท้
ตัวอย่าง
4. Adjektiv คำวิเศษณ์ขยายคำนามหรือ สรรพนามให้ เด่นชัด เช่น สี ขนาด ร้อน
Vit = สีขาว, Svart = สีดำ, Små = เล็ก, Varm = ร้อน อบอุ่น
คำวิเศษณ์ เเบ่งออกเป็น ๓ ระดับ
ตัวอย่าง ฺBordet är tungre än stolen. = โต๊ะตัวนั้นหนักกว่าเก้าอี้ตัวนี้
5. Adverb คำวิเศษณ์ที่ใช้ขยายคำกริยา วิเศษณ์ เเละ คำคุณศัพย์ ให้เด่นชัด เช่น บอกอาการ สถานที่ บอกจำนวนครั้ง บอกความมากน้อย ฯลฯ คำขยายกริยาวิเศษณ์ ลงท้ายด้วย -t
6. Preposition ( คำบุพบท ) เป็นคำที่ใช้เเสดงความสัมพันธ์ระหว่างนาม สรรพนามกับคำอื่นๆในประโยค อย่างเช่น på [โพ] ข้างบน, i [อี] ใน
7. Konjunktion ( คำสันธาน ) คือคำที่เชื่อมคำวลี ประโยค เข้าด้วยกัน เช่น คำว่า och [โอ่ค], men [เเม่น], eller [เอลเลอร]
och เชื่อมประโยค ๒ ประโยคเข้าด้วยกัน คือ
8. Interjektion ( คำอุทาน ) คือคำที่เปล่งหรืออุทานออกมา เพื่อเเสดงความ รู้สึก ของอารมณ์อย่างกระทันหัน เช่น ว้าย โอ้ย Oj ! ตามด้วยเครื่องหมาย เเสดงความตกใจ
ตัวอย่าง
Oj då !
9. Räkneord ( ตัวเลข ) ใช้ในการนับ
|
|||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||